top of page
รูปภาพนักเขียนAnupong Muttaraid

เข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

ปัจจุบันปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาสำคัญที่กระทบต่อทั้งเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลก ซึ่งกระบวนการผลิตที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และมีเทน ในชั้นบรรยากาศที่มากเกินไปเป็นปัจจัยสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


หลายประเทศทั่วโลกจึงได้มีความพยายามที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือการก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ด้วยการเพิ่มปริมาณการผลิตและการใช้พลังงานสะอาด (พลังงานที่ไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตไฟฟ้า เช่น พลังงานจากแสงอาทิตย์ ลม และพลังงานความร้อนใต้พิภพ) และลดการใช้พลังงานจากฟอสซิล

ทางด้านองค์การสหประชาชาติเองก็ได้จัดให้ พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ และ การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อยู่ใน 17 เป้าหมายหลักของ Sustainable Development Goals (SDGs) ซึ่งเป็นเป้าหมายที่จัดทำเมื่อปี 2558 เพื่อการันตีว่าประชากรโลกจะมีสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองที่ยั่งยืนภายในปี 2573


นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังให้ความสำคัญกับการที่ธุรกิจแสดงจุดยืนที่ชัดเจนในการใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย จากการสำรวจผู้บริโภคของ Unilever เมื่อปี 2560 พบว่า ถึง 1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 2 หมื่นคนจาก 5 ประเทศ (อังกฤษ อเมริกา บราซิล ตุรกี และอินเดีย) ยินดีที่จะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากบริษัทที่มีการระบุถึงการใช้คาร์บอนต่ำในขั้นตอนการผลิต หรือมีการใส่ใจประเด็นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม


จะเห็นได้ว่า ผู้บริโภคในปัจจุบันให้ความสำคัญต่อปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนการผลิตที่ใช้คาร์บอนต่ำของธุรกิจจนมีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการ ทั้งนี้บริษัทระดับโลกหลายๆ บริษัทเองก็ได้มีการปรับรูปแบบธุรกิจให้คำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น


โดยการพยายามที่จะลด Carbon Footprint ของผลิตภัณฑ์ (ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ขั้นตอนการจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง จนถึงขั้นตอนการย่อยสลายของผลิตภัณฑ์) และการรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อม


นอกจากการลด Carbon Footprint จะช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์มีความน่าสนใจมากขึ้นแล้ว Carbon Label ก็เป็นอีกประเด็นที่ผู้บริโภคให้ความสนใจมากขึ้นเช่นกัน ในปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญต่อการมี Carbon Label หรือฉลากที่ระบุถึงระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์นั้นๆ บนผลิตภัณฑ์เพิ่มมากขึ้น


จากความตื่นตัวในประเด็นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มมากขึ้น EIC จึงมองว่าธุรกิจควรให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมผ่านการปรับปรุงกระบวนการผลิตและเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อดึงดูดกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการสินค้าที่ส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ทั้งนี้หากธุรกิจต้องการที่จะเริ่มปรับรูปแบบการดำเนินกิจการอาจเริ่มจากขั้นตอน ดังต่อไปนี้


1. สำรวจ Carbon Footprint ของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ทราบถึงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการผลิตผลิตภัณฑ์นั้นๆ 2. กำหนด Carbon Label ให้เหมาะสมกับประเภทธุรกิจและผลิตภัณฑ์ เพื่อกำหนดแผนการลดให้ได้ตามเงื่อนไขของ Carbon Label นั้นๆ เนื่องจาก Carbon Label แต่ละประเภทมีข้อกำหนดและการยอมรับที่แตกต่างกัน ธุรกิจจึงจำเป็นต้องศึกษาและเลือก Carbon Label ให้เหมาะสม โดยในไทยเองก็มีองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือในการคำนวณและการยื่นขอ Carbon Label อย่างองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก หรือ อบก.


3. ดำเนินแผนธุรกิจตาม guidelines ของ Carbon Label ที่เลือก และยื่นขออนุมัติฉลากจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง


4. สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายของผลิตภัณฑ์ให้ทราบถึงการเป็นผลิตภัณฑ์ที่คำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์


ดู 81 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

เข้าใจคาร์บอนเครดิต

คาร์บอนเครดิต หมายถึง สิทธิที่เกิดจากการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากการที่บุคคลหร...

Carbon offsetting through forestry

The emission of carbon dioxide from the burning of fossil fuels is one of the greatest environmental concerns today. Carbon dioxide is a...

Comments


bottom of page